About

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever.

Top sale

Contact

  • Phone:
  • Address:

    100 หมู่ 1 ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220

  • Email:
  • Working days/hours:
    Mon - Sun 9:00 AM - 8:00 PM

3-MCPD สารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรส

ปิดความเห็น บน 3-MCPD สารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรส

3-MCPD สารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรส

3-MCPD สารปนเปื้อนในซอสปรุงรส

ที่มารูปภาพ : Thairath

“..นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน การประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเน้นที่การปรุงรสชาติของอาหารเพื่อให้ได้เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภค ซึ่งการปรุงรสในอดีตมักใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ แต่ต่อมาวิวัฒนาการของ เครื่องปรุงรส มีความก้าวหน้ามากขึ้น มีลักษณะที่สำเร็จรูป มีความสะอาดมากขึ้น และยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น แต่ก็อาจจะมีสารปนเปื้อนอย่าง 3-MCPD ติดมากับ ซอสปรุงรส นั้นด้วย เราจึงได้วิจัยซอสปรุงรส ที่ต้องการให้ผู้บริโภคทุก ๆ กลุ่ม ได้ทานอาหารที่ใช้เครื่องปรุงที่เป็นธรรมชาติ 100% โดยตอบโจทย์เรื่องโซเดียม ซึ่งซอสของเรานั้นก็คือ ซอสปรุงรสมาสเตอร์เชฟ อูมามิ และซอสของเรายังได้รับการรับรองว่า เป็น ซอสปรุงรส ที่ปลอดสาร 3-MCPD อีกด้วย ส่วนสาร 3-MCPD นั้นคืออะไร เกิดจากอะไร ไปตามอ่านได้ตามบทความด้านล่างได้เลย..”

สาร 3-MCPD คืออะไร

สาร 3-MCPD (3-monochloropropane-1,2 diol/3-chloro-1,2-propanediol) เป็นสารปนเปื้อนที่เกิดจากขั้นตอนการย่อยสลายโปรตีนจากพืชด้วยกรดเกลือความเข้มข้นสูง ในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงในกระบวนการผลิตซอสปรุงรส ซึ่งสารตัวนี้พบว่า อยู่ในกลุ่มที่มีพิษต่อตับ ไต ต่อมไทรอยด์ เยื่อเมือกช่องปาก ลิ้น อวัยวะสืบพันธุ์ และยังเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งและก่อกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง

ปัจจัยการเกิดสาร 3-MCPD ในอาหาร

  • การใช้ Acid-HVP ที่มีการปนเปื้อนสาร 3-MCPD เป็นวัตถุดิบในการผลิต
  • การเกิดปฏิกิริยาคลอริเนชั่น ระหว่างโปรตีนจากพืช ไขมันและกรดเกลือเข้มข้นในการไฮโรไลซ์โปรตีนจากพืชโดยใช้กรดเกลือ
  • อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูง หรืออาหารที่มีไขมันสูง ความเป็นกรดด่างต่ำ หรือปริมาณเกลือสูง
  • อาหารที่เก็บรักษาเป็นเวลานาน
  • การใช้ Epichlorohydrin/amine copolymer เพื่อตกตะกอนสารแขวนลอยในน้ำในการผลิตน้ำประปา
  • การใช้ Epichlorohydrin ผลิตภาชนะบรรจุ ซึ่งทำให้มีการปนเปื้อนสาร 3-MCPD จากภาชนะแพร่กระจายสู่อาหารที่ใช้ภาชนะดังกล่าวได้

พิษของสาร 3-MCPD

มีรายงานว่า การเกิดพิษในระยะสั้นจะเกิดพิษต่อไตของหนูทดลอง ในลิงก่อให้เกิดภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวลดลง และภาวะเกล็ดเลือดลดลง ส่วนในระยะยาวจะทำให้หนูทดลองมีการเคลื่อนไหวของ spermatozoa ที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิด renal tumor, testicular tumor ซึ่งมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ และทำให้เป็นหมันในที่สุด รวมทั้งมีผลให้เกิดการสร้างเซลล์มะเร็งได้ที่ตับ ไต เยื่อบุปากและลิ้น

เอกสารรับรองซอสมาสเตอร์เชฟ อูมามิ

ที่มาบทความ : PDF File

บทความเพิ่มเติม

X
Top