About

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever.

Top sale

Contact

  • Phone:
  • Address:

    100 หมู่ 1 ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220

  • Email:
  • Working days/hours:
    Mon - Sun 9:00 AM - 8:00 PM

โมโนโซเดียม กลูตาเมต วัตถุเจือปนในซอสปรุงรส

ปิดความเห็น บน โมโนโซเดียม กลูตาเมต วัตถุเจือปนในซอสปรุงรส

โมโนโซเดียม กลูตาเมต วัตถุเจือปนในซอสปรุงรส

โมโนโซเดียม กลูตาเมต

ที่มารูปภาพ : Wikipedia

“..โซเดียมมีอยู่ในอาหารทุกชนิด รวมถึงซอสปรุงรสด้วย ทั้งที่มีรสเค็ม เช่น เกลือ และไม่ออกรสเค็ม เช่น ผงฟู แต่เมื่อเราต้องจำกัดโซเดียมและเกลือ จึงทำให้มีผลต่อรสชาติอาหาร และการรับประทาอาหารของผู้ป่วย เพราะต้องหลีกเลี่ยงเครื่องปรุงรสที่มีเกลือเป็นส่วนประกอบหลัก และอาหารที่มีโซเดียมมาก เราจึงได้วิจัยซอสปรุงรสมาสเตอร์เชฟ อูมามิ ที่ต้องการให้ผู้บริโภค ทุก ๆ กลุ่ม ได้ทานอาหารที่ใช้เครื่องปรุงที่เป็นธรรมชาติ 100% โดยตอบโจทย์เรื่องโซเดียม และเรายังได้รับเอกสารรับรองว่าเป็นซอสปรุงรสที่โซเดียมต่ำอีกด้วย ส่วนโมโนโซเดียม กลูตาเมต คืออะไร และเทคนิคในการประกอบอาหารแบบจำกัดโซเดียมต้องทำอย่างไรบ้าง ไปตามอ่านได้ข้างล่างเลย..”

โมโนโซเดียม กลูตาเมต คืออะไร

โมโนโซเดียม กลูตาเมต (Monosodium Glutamate) หรือมักจะเรียกกันทั่วไปว่า ผงชูรส เป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภทวัตถุปรุงแต่งอาหาร ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติในการเป็นสารเพิ่มรสชาติอาหาร ทำให้อาหารโดยรวมมีรสชาติที่ดีขึ้น

กินอย่างไร ให้ห่างไกลโซเดียม

  • ไม่ควรใช้เครื่องปรุงที่ไม่ทราบปริมาณโซเดียม อ่านฉลากอาหาร ดูปริมาณโซเดียมก่อนซื้อ เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีโซเดียมน้อย
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดองเค็ม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีผงชูรส ซึ่งมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
  • เลี่ยงรับประทานอาหารที่ใส่ผงฟู
  • ควรหาวิธีการปรุง การประกอบอาหารที่มีการปรุงหลากหลายรส
  • ดัดแปลงสูตรอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการเติมเกลือ โดยไม่จำเป็น
  • หากซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ควรชิมอาหารก่อนปรุงทุกครั้ง และเลี่ยงการซดน้ำซุปหรือน้ำแกงในปริมาณมาก

เทคนิคการประกอบอาหารจำกัดโซเดียม

แนะนำให้ใช้สมุนไพรเป็นสารแต่งกลิ่นอาหาร จะทำให้อาหารที่ปรุงรสอ่อนเค็มชวนกิย เช่น ใบมะกรูด กระเทียม ใบโหระพา ข่า ใบแมงลัก ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระชาย รากผักชี ขิง ผักชี พริกไทยดำ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม พบว่าสมุนไพรบางชนิด เช่น ใบแมงลัก ผักชี ยังมีโพแทสเซียมสูงมาก จึงควรใช้ปรุงอาหารด้วยความระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีปัญหาระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง

หรือจะเลือกปรุงรสชาติอาหารด้วย ซอสปรุงรสมาสเตอร์เชฟ อูมามิ เพราะนอกจากส่วนผสมจะทำมาจากธรรมชาติ 100% แล้ว ยังได้รับเอกสารรับรองอีกด้วยว่า เป็นซอสปรุงรสที่โซเดียมต่ำ ผู้ป่วยโรคไต มะเร็ง เบาหวาน ก็สามารถทานได้ แต่ให้อยู่ในการควบคุมปริมาณของแพทย์ เพียงใช้แค่ 1 ช้อนชา กับการปรุงอาหาร 1 เมนู เพียงแค่นี้ก็อร่อย แถมยังลดโซเดียมอีกด้วย

เอกสารรับรองซอสมาสเตอร์เชฟ อูมามิ

ที่มาบทความ : Wikipedia.org, Sriphat.med.cmu.ac.th, blockdit.com

บทความเพิ่มเติม

X
Top