฿0.00
อาหารสำหรับนักวิ่งมาราธอน
อาหารสำหรับนักวิ่งมา […]
Read MoreWhat are you Looking for?
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry’s standard dummy text ever.
100 หมู่ 1 ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 50220
“..โพแทสเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยให้เซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปริมาณโพแทสเซียมในเลือดระดับปกติจะอยู่ที่ 3.6-5.2 มิลลิโมลต่อลิตร ส่วนผู้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.2 มิลลิโมลต่อลิตรนั้นถือว่ามีภาวะ Hyperkalemia และยิ่งมีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงเกิดความผิดปกติที่รุนแรงตามมามากขึ้นเท่านั้น..”
ลักษณะและความรุนแรงของอาการผู้ป่วย Hyperkalemia ขึ้นอยู่กับปริมาณโพแทสเซียมในเลือด หากมีระดับไม่สูงมากอาจไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติหรือมีอาการไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นเหน็บชาตามร่างกาย เป็นต้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากหรือตั้งแต่ 7 มิลลิโมลต่อลิตรขึ้นไปนั้นอาจกระทบต่อการทำงานของหัวใจ ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง เช่น หัวใจเต้นช้า ชีพจรเต้นเบากว่าปกติ รวมถึงภาวะที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตอย่างหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจหยุดเต้น ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบแพทย์ และหากหัวใจหยุดเต้นจนหมดสติ ผู้ป่วยควรได้รับการปั๊มหัวใจอย่างถูกวิธีเพื่อช่วยให้ฟื้นคืนชีพในทันที
ภาวะ Hyperkalemia มักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน ทว่าอาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุข้างต้นได้เช่นกัน ดังนี้
ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกตัวในระหว่างหรือหลังเก็บตัวอย่างเลือด โพแทสเซียมภายในเม็ดเลือดจึงออกมาปะปนกับเลือด ทำให้ผลตรวจเลือดแสดงว่ามีภาวะโพแทสเซียมให้เลือดสูง ทั้งที่ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายอยู่ในระดับปกติ แพทย์จึงอาจต้องเก็บตัวอย่างเลือดซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผลการตรวจให้แน่ชัด
การวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการผิดปกติที่พบอาจเกิดจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากภาวะนี้ แพทย์จึงต้องวินิจฉัยโดยใช้หลายวิธีควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การซักประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการใช้ยา อาหารและอาหารเสริมที่รับประทาน รวมทั้งอาจใช้การทดสอบทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย ดังนี้
ผู้ที่มีภาวะ Hyperkalemia ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีจังหวะการเต้นของหัวใจปกติ และไม่ได้มีความผิดปกติชนิดอื่น เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด หรือโรคไต อาจรักษาได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนผู้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายและมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพื่อให้พ้นภาวะวิกฤติทันที
ทั้งนี้ การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจแตกต่างกันไปในแต่ละราย ขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค ความรุนแรงของอาการ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตควบคู่ไปกับการใช้ยาบางชนิด ดังนี้
นอกจากนั้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายฉีดแคลเซียมเข้าเส้นเลือดเพื่อป้องกันหัวใจและกล้ามเนื้อจากการได้รับผลกระทบจากภาวะนี้ด้วย
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจส่งผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรูปแบบ Ventricular Fibrillation ส่งผลให้หัวใจของผู้ป่วยเต้นแผ่วระรัวและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นอกจากนั้น การมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะ Hyperkalemia อาจป้องกันได้โดยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะนี้จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น มันฝรั่ง หน่อไม้ อะโวคาโด มะเขือเทศ ฟักทอง ส้ม กล้วย แคนตาลูป พรุน ลูกเกดและผลไม้แห้งชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
ที่มาบทความ : pobpad.com
อาหารสำหรับนักวิ่งมา […]
Read Moreเครื่องปรุงที่ดีกับผ […]
Read Moreเครื่องปรุงที่ดีกับผ […]
Read Moreเครื่องปรุงรสที่เด็ก […]
Read More